AbstractArt

ศิลปะเชิงนามธรรมหรือ AbstractArt นั้นนับเป็นศิลปะที่เข้าใจได้ยากมากๆ และก็คงจะยากในการที่เราจะทำให้ทุกคนเห็นภาพร่วมกันได้ แต่ด้วยงานเชิงนามธรรมนั้น ก็เป็นรูปแบบศิลปะที่มีข้อถกเถียงกันมาช้านาน ในเรื่องที่ว่า ดูรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง สวยตรงไหน ภาพนั้นสวยภาพนี้ไม่สวยเลย ภาพนี้ดูไม่รู้เรื่องเลย ไม่เข้าใจ ฯลฯ

ศิลปะแบบ AbstractArt

AbstractArt
Abstract art

หลายท่านคงจะเคยได้ยินประโยคเหล่านี้มาบ้างเมื่อได้เห็นงานศิลปะเชิงนามธรรมทั้งหลายทั้งสิ้น และในวันนี้จะนำเสนอเรื่องราวของรูปแบบของศิลปะแบบนามธรรม ว่ามีลักษณะอย่างไร มีที่มาที่ไปแบบอย่างไร และมีแนวคิดใดๆ ที่สอดคล้องในงานศิลปะแบบนามธรรมอยู่บ้าง เพื่อที่อย่างน้อยเราจะได้เข้าใจกับศิลปะเชิงนามธรรมหรือที่เราคุ้นเคยกับคำที่ว่า “Abstract”

เริ่มจากในสมัยศตวรรษที่ 20 งานศิลปะนั้นก็ได้มีความหลากหลายมากขึ้น และมีแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะที่ช่างแตกต่างกันออกไปอยู่มาก เรียกง่ายๆ ว่าศิลปินนั้นก็มีการนำเสนอแนวคิดที่เป็นของตัวเอง และก็มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานมากขึ้นโดยที่ไม่ได้มีการยึดติดกับรูปแบบทางศิลปะในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จึงจะส่งผลให้เริ่มมีแนวคิดที่จะแสดงออกในรูปแบบของนามธรรมมากขึ้น และจึงได้เป็นที่มาของศิลปะรูปแบบนี้นั่นเอง

ศิลปะเชิงนามธรรมหรือ Abstract art นั้นเป็นงานศิลปะที่ไม่ได้แสดงออกหรือมุ่งเน้นกับความเป็นจริง โดยจะเป็นการละทิ้งแบบรูปทรงต่างๆ ด้วยการตัดทอนหรือลดรูปทรงนั้นๆ จนจะหมดสิ้น หรืออาจจะเป็นการสร้างรูปทรงขึ้นมาแบบใหม่ตามความรู้สึกของศิลปินเอง ด้วยการวางโครงสีขึ้นใหม่ และเรื่องราวใหม่

AbstractArt
Abstract art

สิ่งสำคัญนั้นก็คือการยึดคุณค่าทางความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆ ไว้ ความงามตามอบบอารมณ์ และความรู้สึก ที่เป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการ แต่ก็ไม่ใช่ว่าศิลปินนั้นจะสร้างผลงานอะไรออกมาโดยไม่มีที่มาที่ไป เพราะกว่าที่ศิลปะ Abstract จะได้เกิดขึ้นมาได้นั้น มันต้องผ่านวิวัฒนาการทางความคิด และรูปแบบในทางศิลปะจากศิลปินผู้นั้นมาก่อนแล้ว ได้มีการแบ่งศิลปะแบบ Abstract ไว้ 2 พวกก็คือ Geometric Abstraction และ Abstract Expressionism

คุณค่าของความรู้สึกนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของศิลปะแบบนามธรรม ศิลปินแบบสมัยเก่าจะเขียนบรรยายอะไรก็จะเฉพาะเจาะจงลงไป เช่น รูปผู้หญิง ต้นไม้ สัตว์นานาพันธ์ ผลไม้ ผู้ชาย หรือแม้แต่พระเจ้า แต่ศิลปินกลุ่ม Abstract เขาไม่ต้องการสร้างรูปทรงที่ปรากฏให้ผู้ดูหลงติดเพียงแค่นั้น แต่เขาต้องการสร้างรูปทรงใหม่ โดยที่คำนึงถึงการจัดภาพ ลีลา จังหวะความสมดุล และความรู้สึก เพื่อที่ให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกเองเมื่อได้สัมผัส

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

ศิลปะแบบโอเปร่าคลิก โอเปร่า

โดย Free Spin

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛