ภาพภ่าย โมนาลิซา

ภาพภ่าย โมนาลิซา

ถ้าหากพูดถึงภาพวาดผู้หญิงที่มีความสมบูรณ์ สวยสง่างาม ที่หลาย ๆ คนรู้จัก ก็คงจะไม่พ้นภาพของ  โมนาลิซา แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ภาพนี้ใครวาด ภาพนี้มีอายุเท่าไหร่ และภาพนี้จริง ๆ แล้วมันคือภาพที่สื่อความหมายถึงอะไรกันแน่ ไปรับชมเรื่องราวของภาพถ่ายโมนาลิซากันครับ

โมนาลิซา

โมนาลิซา คือภาพที่ใช้น้ำมันที่สูง เจ็ดสิบเจ็ด เซ็นติเมตร และกว้างห้าสิบสา่มเซ็นติเมตร ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์วรรษที่สิบหกด้วยการวาดของเลโอนาร์โด ดาวินชี ศิลปินเอกของโลก ใช้เวลาถึง สี่ ปี จึงรังสรรค์ภาพของเธอได้อย่างสำเร็จอย่างสมบูรณ์

ด้วยการวาดภาพที่มหัศจรรย์ได้เกือบเท่าเทียมธรรมชาติ และสัดส่วนรูปร่าง รูปทรงที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างไร้ที่ติ ภาพโมนาลิซาจึงได้รับคำชื่นชมจากผู้คนทั่วโลก ในภาพทั้งน่าค้นหาและมีสิ่งซ่อนเร้น ภาพโมนาลิซา จึงดูมีเรื่องราวเหมือนกับกระจกที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดได้ดี

โมนาลิซา

ใบหน้าและแววตาดูร้อนรุ่มและสงบนิ่งในเวลาเดียวกัน รอยยิ้มของเธอแลดูมีเสน่ห์ ยากจะเข้าใจ ภาพนี้จึงได้รับคำชื่นชมว่า เหมือนนางฟ้ามากกว่ามนุษย์ ภาพนี้จึงเป็นบทพิสูจน์สำคัญว่าเลโอนาร์โด คือ ยอดอัจฉริยศิลปินตัวจริง

ลีโอนาร์โด ดาวินชี ทิ้งเพียงรอยยิ้มอันลึกลับ เคลือบแคลงแฝงเร้นด้วยปริศนามากมายลงบนใบหน้าของเธอ ลือกันว่า นางในภาพคือ ลิซา เดล โจคอนดา ภรรยาพ่อค้าชาวฟลอเรนซ์  

บางคนเชื่อว่า ภาพนี้ไม่ใช่ผู้หญิง แต่เป็นภาพเหมือนจำลองของเด็กหนุ่มรูปงามผู้ติดสอยห้อยตาม เพราะลีโอนาร์โดเองมีชื่อถูกกล่าวขานกันว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ 

หลังจากที่เลโอนาร์โดสิ้นชีวิต ผู้ครอบครองภาพคนแรกคือ กษัตริย์ฝรั่งเศษ ผู้ให้การอุปถัมน์ดาวินชีในปั้นปลายชีวิต ซึ่งพระองค์โปรดให้นำภาพไปประดับในห้องสรง ในพระราชวังฟองแตนโบล แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนขึ้นครองราชย์ ภาพโมนาลิซา ถูกย้ายมาพำนักในห้องบรรทมและมีชื่อเรียกอย่าง สนิทว่า มาดามลิซา

โมนาลิซา

ภาพนี้เคยถูกขโมยไปจากลูฟร์ 2 ปี ปรากฏว่าโจรใจกล้าคือคนทำความสะอาดในลูฟร์ และค้นรูปเจอที่บ้านเกิดของเธอ ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันโมนาลิซาได้รับการทะนุถนอมอย่างดีในตู้กระจกปรับอากาศและกันกระสุนภายในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศษ

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

ศิลปินนักร้อง พุ่มพวงดวงจันทร์

เครื่องสำอางค์ไลน์อัพใหม่สุดปัง แบรนด์ R.E.M Beauty

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛