บาตรพระ

บาตรพระ

บาตรพระ เมื่อได้ยินคำว่า บาตร ก็ต้องนึกถึงพระ ที่อยู่ในวัด เพราะบาตร เป็นภาชนะที่ใส่อาหารของพระภิกษุและสามเณรนั่นเอง แต่เราไม่รู้เลยว่า บาตรมาจากที่ใดและทำไมจะต้องมาเป็นที่ใส่อาหารของพระ และใครเป็นคนทำ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และทำจากอะไร วันนี้แอดมินจะพาทุกคนไปดู ที่มาที่ไปของคำว่าบาตรพระ อย่ารอช้าตามแอดมินมาเลยค่ะ

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

ศิลปะในการทำ บาตรพระ

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

บาตรพระ
การทำบาตรพระ

บาตรพระ ได้จัดทำขึ้นที่ชุมชนเล็กๆ ที่เรียกว่า บ้านบาตร ปัจจุบันได้ตั้งอยู่ที่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยมีพื้นที่ของชุมชนทั้งหมด ประมาณ 4 ไร่ 37 งาน สภาพ ของชุมชนจะเป็นบ้านไม้ที่ปลูกติดต่อกัน เรียงกันเป็นแนวยาว ปัจจุบันก็จะมีบ้านปูนแบบสมัยใหม่เกิดขึ้น ตามยุคตามสมัยของปัจจุบัน ชาวบ้านในท้องถิ่น ส่วนมากจะมีการ
ทำหัตถกรรมของชุมชน คือการทำบาตรพระนั่นเอง บาตร คือภาชนะที่ไว้ใส่อาหารของพระภิกษุ และสามเณร
โดยใช้ตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน โดยเริ่มใช้ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เข้ามาสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  บาตรมีความสำคัญต่อพระสงฆ์เป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 ของพระสงฆ์ จึงทำให้ บาตรของหมู่บ้านมีชื่อเสียงมาก ตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง หรือความมีชื่อเสียง ในการทำบาตรจะต้องมีความ ใจเย็นๆ และมีความ เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ต้องมีฝีมือ และมีความอดทนอย่างสูงกว่าจะได้แต่ละใบต้องใช้เวลานับหลายวัน

บาตรพระ
ขั้นตอนทำบาตรพระ
บาตรพระ
ขั้นตอนทำบาตรพระ

เรื่องเล่าในการทำบาตรพระ

โดยมีเรื่องเล่าตำนานเกี่ยวกับบาตร โดยไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดแต่ชาวบ้านสันนิษฐานว่า หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งอยู่ในรัชกาลที่หนึ่ง ได้ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2326 ชาวกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพย้ายถิ่นฐาน เข้ามาอยู่บ้านบาตร และได้นำความรู้ พี่มีอยู่ในเรื่องของการทำบาตร มา ประยุกต์ใช้และ ประกอบอาชีพ บาตรของที่นี่จะมีวิธีการทำแบบดั้งเดิม คือการทำด้วยเหล็ก และตีบาตรด้วยมือของชาวบ้านเอง และนับว่า
เป็นศิลปะภูมิปัญญา และวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวบ้านชุมชนบ้านบาตร และสืบทอดต่อกันมา ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีอายุโดยประมาณ 200 ปีแล้ว ในอดีตใช้วัสดุอะไร แบบไหน ปัจจุบันก็ยังใช้แบบเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง เพราะถือว่าทำดี มาตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว โดยวัสดุที่ใช้ก็จะเป็น เหล็กยางมะตอย เหล็กแผ่นทองเหลือง และแสตนเลส ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นสนิม และยังทนทานต่อการใช้งานอีกด้วย ในปัจจุบัน ชาวชุมชน ได้ทำเป็นของที่ระลึก สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวชม และซื้อเป็นของติดไม้ติดมือกลับไป ถือว่าเป็นงานศิลปะที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านชาวชุมชนอีกด้วย อีกทั้งยังเปิดสอนและเปิดให้เข้าชมจุดศูนย์กลางเรียนรู้ของชาวบ้าน และวิธีการทำบาตรด้วย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีกด้วย

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

ตารีกีปัส ศิลปะการแสดงของภาคใต้ สนใจคลิ๊ก ตารีกีปัส

สนับสนุนโดย ufa168bet

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛