การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ   คือ  การเสมือนการแสดงออกที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ และจะมีตามชุมชน หรือท้องถิ่น ของแต่ละภูมิภาค และเป็นการสร้างเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น และประจำชาติของไทย และได้มีการพัฒนาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบสานต่อไป  และเป็นการแสดงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และสร้างความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ และสื่อสารออกมาตามสังคม และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างกันออกไป

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

 

การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ


การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกมาโดยการร่ายรำ หรือการละเล่นนั่นเอง  หรือที่ทุกคนจะเรียกกันว่า ฟ้อน  การฟ้อนเป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวล้านนานั่นเอง เป็นอีกกลุ่มกลุ่มชนเผ่าต่างๆของภาคเหนือ ด้วยสภาพแวดล้อม และลักษณะของภาคเหนือในประเทศไทย ชาวบ้าน และกลุ่มคนส่วนใหญ่ จะมีนิสัยที่อ่อนโยน นุ่มนวล ไม่กระโชกโฮกฮาก เพราะเหตุนี้จึงทำให้เพลงดนตรี และการแสดงของทางภาคเหนือ ไม่เหมือนภาคอื่นๆ เพราะจะมีทำนอง และจังหวะ ที่นุ่มนวล อ่อนหวานตามไปด้วย และจะมีจังหวะที่ช้า เนิบนาบ ตามนิสัย และกิริยาบทของชาวภาคเหนือล้านนา คือ ไม่รีบร้อน การแสดงของทางภาคเหนือ เรียกว่า การฟ้อน จะมีการแสดงหลักๆ และเด่นๆ ที่ชื่อว่า ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม  โดยจะมีท่าทางการแสดงที่อ่อนช้อย อ่อนหวาน  และจะมีการแต่งกายตามวัฒนธรรม ของท้องถิ่นนั้นๆ และชุดต้องสุภาพเรียบร้อยเท่านั้น และมักจะเล่นแสดงกันในประเพณีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขกบ้าน แขกเมือง หรือ งานที่สำคัญต่างๆ

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนเทียน จะมีท่าการร่ายรำ ที่อ่อนช้อย อ่อนหวาน  สื่อถึงความเป็นล้านนา การฟ้อนเทียนจะแสดงในเวลากลางคืน เพื่อเน้นความสวยงาม สุขุม และได้เห็นแสงสว่างของเทียนนั่นเอง  จุดเด่นของการฟ้อนเทียน คือ ผู้ที่ฟ้อนเทียนจะต้องถือเทียนข้างล่ะ 1 เล่มเท่านั้น

เป็นความเชื่อของทางล้านนา ว่าเพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้า และเป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเหนือล้านนาเคารพนับถือ การฟ้อนเทียน จะแสดงในงานราชพิธีเท่านั้น หรือวันสำคัญทางศาสนา หรือวันสำคัญของทางล้านนาเท่านั้น

การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
ฟ้อนเงี้ยว ระบำชาวเขา

ฟ้อนเงี้ยว คือ การฟ้อนที่มาจากกลุ่มชาวเงี้ยว และคนไทยใหญ่ ผู้ฟ้อนเงี้ยวมักเป็นผู้หญิง – ผู้ชาย สามารถมีผู้ฟ้อนหลายคู่ได้ ในเรื่องการแต่งกายของการฟ้อนเงี้ยว ผู้ฟ้อนจะต้องใส่ชุดพื้นบ้านพื้นเมืองเท่านั้น และการแสดงฟ้อนเงี้ยวมักจะแสดงในงานสังสรรค์ รื่นเริง ทั่วไป

ฟ้อนเล็บ  คือ การฟ้อนอย่างหนึ่งของภาคเหนือ ที่มีความสวย ความงดงาม มีความอ่อนช้อยในท่ารำ และมีลีลาการฟ้อนเล็บ ที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ การฟ้อนเล็บ จะทำให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงของผู้ฟ้อน และจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ  บางที่อาจจะมีเนื้อร้อง หรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ ไม่จำกัด
การฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนรำ จะต้องสวมเล็บยาว ตรงนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้น นิ้วหัวแม่มือ นิ้วเดียว เพื่อความสวยงาม ทรงผมของผู้ฟ้อนรำ จะต้องทำผมแบบมวย มัดสูง และติดดอกไม้สวยงาม ห้อยเป็นอุบะ สื่อถึงความอ่อนช้อย

การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนสาวไหม  คือ การฟ้อนทางหนึ่งของทางภาคเหนือ ที่เอาแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้านนั่นเอง การฟ้อนสาวไหม จะมีจังหวะเพลงที่รวดเร็ว แต่ยังคงความอ่อนช้อยไว้  จะเปรียบการทอผ้าไหม ที่มีการสะดุด เป็นช่วงๆ ในระหว่างทอผ้านั่นเอง

นอกจากนี้การแสดงพื้นบ้านของภาคเหนือ ยังมี นาฏศิลป์ ศิลปะการแสดงของภาคเหนือ ที่ด้รับอิทธิพลมาจากประเทศใกล้เคียงอีกด้วย ว่าจะเป็น  ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศจีน และวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ของชนกลุ่มน้อย เช่นไทยใหญ่  เงี้ยว และชาวไทยภูเขา นั่นเอง

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛

สถานที่สำคัญของคนรักศิลปะ สนใจคลิก สถานที่สำคัญของคนรักศิลปะ ในภาคเหนือ

สนับสนุนโดย ทางเข้า ufa1688

💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛 💛